Content Strategy กลยุทธ์การเขียนคอนเทนต์ให้ปัง!

เขียนคอนเทนต์ให้ปังด้วย Content Strategy!

Content Strategy คือการวางขั้นตอนสำหรับงานเขียนคอนเทนต์ วิธีการนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเนื้อหา ทำให้ดูน่าเชื่อถือ กระตุ้นให้พวกเขาเกิดความสนใจได้ง่ายกว่า และไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจขนาดไหนก็ตาม ยังไงการทำคอนเทนต์ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญอยู่เสมอ เอาละ เพื่อไม่ให้เสียเวลา งั้นเราไปดูกันตั้งแต่พื้นฐานเลยดีกว่า

 

ใครที่จะเล่าให้ฟัง ?

   ใครคือกลุ่มเป้าหมายของคุณ พวกเขาอายุเท่าไหร่ ผู้หญิง ผู้ชาย ทำงาน หรือมีอาชีพอะไร เงินเดือนมาก-น้อย สนใจ-ไม่สนใจอะไร และที่สำคัญ พวกเขาอยู่แถวไหน กรุงเทพ ต่างจังหวัด ภาคเหนือ ประเทศไทย หรือต่างประเทศ ?

   การทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้จะทำให้คุณเขียนคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น ทำให้รู้ว่าอะไรจะเป็นจุดความสนใจสำหรับคนเหล่านั้น และการสื่อสารด้วยภาษาแบบไหนที่พวกเขาจะต้องหยุดมอง

 

เป้าหมายคืออะไร

   ถ้าคุณเป็นภาคธุรกิจที่พึ่งเปิดตัวได้ไม่นาน งานเขียนคอนเทนต์ในครั้งนี้ก็คงจะเป็นการสร้างการรับรู้ แต่ถ้าไม่ใช่ละ? งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่าส่วนใหญ่แล้วเขาวางเป้าหมายอะไรกันบ้าง

  • ทำให้เกิดการรับรู้
  • ทำให้เกิดการสั่งซื้อ
  • เพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างกลุ่มเป้าหมายและธุรกิจของคุณ
  • ทำ SEO ให้เว็บไซต์ถูกค้นเจอได้ง่ายขึ้น

   การเลือกเป้าหมายจะทำให้เวลาเขียนคอนเทนต์กำหนดทิศทางและรูปแบบได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังส่งผลไปถึงการเลือกแพลตฟอร์มในการเผยแพร่คอนเทนต์ดังกล่าว

 

ประเภทของ Content ที่จะเล่า

   ก่อนที่เราจะลงลึก ต้องแน่ใจก่อนว่าคุณเข้าใจในส่วนนี้แล้วหรือยัง โดยปกติแล้วเวลาเขียนคอนเทนต์ มักจะไม่มีกรอบตายตัว ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ และวิธีการนำเสนอที่คุณใช้ แต่โดยหลัก ๆ แล้วนั้น คอนเทนต์ที่มีคุณค่าที่ผู้คนให้ความสนใจจะมีอยู่ 3 แบบหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  • คอนเทนต์ที่ช่วยแก้ปัญหา
  • คอนเทนต์ความรู้ที่มีประโยชน์
  • คอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ความอยากรู้อยากเห็น

   คอนเทนต์ทั้ง 3 ประเภทนี้ควรถูกครอบเอาไว้ด้วยเป้าหมายที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือการสร้างประสบการณ์ในการรับสารที่ลื่นไหล เข้าใจง่าย และน่าสนใจ ที่ต้องอาศัยการกระจายตัวของเนื้อหา การจัดหน้าและบรรทัด

 

Keyword และการตั้งชื่อ

   ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ไหน ๆ ก็จะเขียนคอนเทนต์แล้ว ถ้างั้นก็ควรที่จะดูเรื่อง SEO ไปด้วยเลย ซึ่งอันที่จริงใช่ว่านี่จะเกี่ยวแต่กับการทำ SEO เพราะการเลือกใช้ Keyword มาตั้งชื่อ นั่นก็จะทำให้ผู้อ่านสะดุดตาได้ง่ายกว่าด้วยเช่นกัน ทำให้พวกเขาเข้าใจว่ากำลังจะได้รับข้อมูล หรือข่าวสารอะไรจากคอนเทนต์ดังกล่าว

 

ช่องทางที่จะเผยแพร่

   อย่างที่เคยบอกไปก่อนหน้านี้ แต่ละช่องทางล้วนมีรูปแบบการเล่า และกลุ่มเป้าหมายที่ไม่เหมือนกัน เช่นถ้าเป็นการเขียนคอนเทนต์ ก็จะเหมาะกับแพลตฟอร์มพวกนี้นั่นโน่น ซึ่งแพลตฟอร์มพวกนี้ก็จะเข้ากันได้ดีกับวัตถุประสงค์คนละแบบ โดยหลัก ๆ แล้วก็จะมีดังต่อไปนี้

  • เขียนคอนเทนต์
  • Blog / เว็บไซต์ : สร้างการรับรู้ SEO เพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดการสั่งซื้อ
  • Facebook / Twitter : สร้างการรับรู้ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดการสั่งซื้อ และสร้างการมีส่วนร่วมได้ดี
  • คอนเทนต์วิดีโอ
  • Blog / เว็บไซต์ : สร้างการรับรู้ เพิ่มความน่าเชื่อถือ กระตุ้นให้เกิดการซื้อ
  • Facebook / Twitter/ Youtube และ Tiktok : สร้างการรับรู้ เพิ่มความน่าเชื่อถือ ทำให้เกิดการสั่งซื้อ และเพิ่มการมีส่วนร่วมได้ดี
  • อินโฟกราฟิก
  • Blog / เว็บไซต์ : สร้างการรับรู้ เพิ่มความน่าเชื่อถือ กระตุ้นให้เกิดการสั่งซื้อ
  • Facebook / Twitter และ IG : สร้างการรับรู้ เพิ่มความน่าเชื่อถือ

   ถึงแม้ว่าผลลัพธ์เหล่านี้จะดูคล้ายคลึงกัน แต่โดยเนื้อแท้แล้วจะมีความแตกต่างในเรื่องของการรับสาร เช่นถ้าเป็นการเขียนคอนเทนต์ ถ้าบทความยาว คนก็อาจจะต้องเสียเวลาค่อนข้างมาก (ในแง่เดียวกัน ยิ่งคนอ่านใช้เวลากับบทความที่ว่านั่นมากเท่าไหร่ พวกเขาก็จะยิ่งเชื่อมันมากขึ้นเท่านั้น)

   แต่ถ้าเป็นอินโฟกราฟิก จุดแข็งเลยก็คือความง่ายในการเสพข้อมูล แต่นั่นก็ย่อมหมายถึงโอกาสที่พวกเขาจะเลื่อนผ่านมันอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ส่วนคอนเทนต์วิดีโอเองก็ง่ายกับการเสพ เพียงแต่มีความเสี่ยงในการโดนกดข้าม ในกรณีที่เนื้อหาไม่น่าสนใจ

 

วัดผล

   เขียนคอนเทนต์แล้ว เผยแพร่แล้ว ใช่ว่าเรื่องจะจบ คุณยังต้องกลับมาวัดผล และดูประสิทธิภาพของตัวคอนเทนต์ด้วยเช่นกัน อาจจะเป็นการใช้ Google Analytics ดูว่าเป็นยังไง

  • Traffic (จำนวนคนที่เข้ามาชม) เท่าไหร่
  • Engagement (การมีส่วนร่วมของผู้คน) มากขนาดไหน พวกเขาคอมเมนต์ กดไลก์ กดแชร์กันบ้างหรือเปล่า

 

เอาผลที่ได้มาพัฒนา

   การวัดผลที่ได้มาจะช่วยให้เวลาเขียนคอนเทนต์ครั้งต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เราเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายแท้จริงแล้วชอบอะไร ไม่ชอบอะไรกันแน่ และพวกเขามักจะโต้ตอบแบบไหนกับคอนเทนต์ประเภทนั้น ๆ

สรุป

   การจะเขียนคอนเทนต์ที่ดีได้นั้น เราต้องพัฒนาตัวเอง เปิดรับข่าวสารอยู่ตลอดเวลา และวางแผน  Content Strategy  ให้ดี ด้วยกระบวนการทั้งหมดนี้ คุณจะสามารถเขียนคอนเทนต์ดี ๆ ขึ้นมาได้อย่างแน่นอน

   ที่ Spyder พวกเรายินดีให้บริการผลิตคอนเทนต์ ด้วยทีม SEO ที่จะเข้าไปช่วยคุณปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดในหน้าแรก Google ทำวิจัยคำค้นหา และเขียนคอนเทนต์ให้กับคุณโดยเฉพาะ! ติดต่อเราวันนี้เพื่อรับคำปรึกษาด้านการตลาดออนไลน์ได้ฟรี ! ที่ contact@spyder.co.th หรือจะ Leave a Comment ไว้ให้เราติดต่อกลับไปก็ได้ตามสะดวก!

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *